ภัยอันตรายที่ปรับตัวตลอดเวลา
ในปัจจุบัน ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ ChatGPT ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ การใช้ Dreamstime ในการฟื้นฟูรูปภาพเก่าให้คมชัดขึ้น หรือการใช้ NVIDIA ACE เพื่อสร้างตัวละครที่ไม่สามารถเล่นได้ (Non-Playable Character) ให้สามารถตอบโต้กับผู้เล่นในเกมได้อย่างสมจริง
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี AI ก็ถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การใช้ Deepfake เพื่อหลอกลวงเหยื่อให้โอนเงินให้กับมิจฉาชีพ หรือการใช้ GPT ในการค้นหาและแนะนำวิธีการโจมตีจุดอ่อนของระบบต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดความเสียหายทั้งในแง่ของระบบ ข้อมูล และทรัพยากรทางการเงินของบุคคลและองค์กร การป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ (Cybersecurity) จึงต้องพัฒนาให้ก้าวล้ำไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
Modern Problems Require Modern Solutions
ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่าง ChatGPT หลายบริษัทได้ปรับตัวเพื่อดึงประสิทธิภาพของ AI มาใช้ในด้านต่าง ๆ รวมถึงการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ โดย AI สามารถนำมาใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้:
- ตรวจจับ (Detection)
AI ถูกนำมาใช้ในการศึกษารูปแบบและพฤติกรรมการโจมตีระบบ ทำให้สามารถตรวจจับการแทรกแซงได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ - คาดการณ์ (Prediction)
ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น เทรนด์การโจมตีในอดีต AI สามารถคาดการณ์ขั้นตอนการโจมตีล่วงหน้าและช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการโจมตีในอนาคต - ปรับตัว (Adaptation)
AI มีความสามารถในการพัฒนาตนเองเพื่อปรับตัวให้เหมาะสมกับภัยคุกคามใหม่ ๆ และป้องกันการโจมตีในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ - อัตโนมัติ (Automation)
ระบบที่ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาได้แบบอัตโนมัติ ช่วยลดภาระงานของทีม Cybersecurity และทำให้ทีมสามารถมุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น - ตอบโต้ (Response)
AI สามารถแจ้งเตือนผู้ใช้งานทันทีเมื่อเกิดการโจมตี ทำให้ผู้ใช้งานสามารถดำเนินการเพื่อลดความเสียหายได้อย่างทันท่วงที
อนาคตของCyber Security
AI ในด้าน Cybersecurity ช่วยลดภาระงานของทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยปล่อยให้ AI จัดการกับงานที่ซ้ำซ้อนและต้องการความรวดเร็ว เช่น การตรวจจับภัยคุกคามแบบเรียลไทม์ และการแจ้งเตือนผู้ใช้งาน ทำให้ทีมสามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปใช้ในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่ง AI ยังไม่สามารถรับมือได้อย่างสมบูรณ์
ในปัจจุบัน มีหลายบริษัทที่นำ AI มาให้บริการในด้าน Cybersecurity เช่น CrowdStrike Falcon, IBM Guardium Security และ Fortinet ที่ช่วยยกระดับการป้องกันภัยคุกคามให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองได้ทันเวลา การนำ AI มาใช้ในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบ แต่ยังช่วยลดต้นทุนและเวลาที่ใช้ในการรับมือกับภัยคุกคามอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การพัฒนา AI เพื่อใช้ในด้าน Cybersecurity จำเป็นต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการกำกับดูแลและจริยธรรม เพื่อป้องกันไม่ให้เทคโนโลยีนี้ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด
เรียบเรียงโดย นายสุรวิช คำฉิ่ง
สามารถอ่านบนความเพื่มเติมได้ที่ ข่าวสาร | ITBT Corporation