ระบบดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge คืออะไร ? และหน้าตาเป็นอย่างไร ?

ดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge นั้นถูกสร้างขึ้นในหลากหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณใกล้กับเสาสัญญาณ Wi-Fi ขนาดใหญ่เพื่อรองรับการให้บริการโครงข่าย 5G, ตามหัวมุมถนนเพื่อรองรับระบบจัดการจราจรอัจฉริยะและรถยนต์ที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง, ในสำนักงานกลาง, หรือแม้แต่ภายในหรือบริเวณติดกับโรงงานอุตสาหกรรมหรืออาคารขององค์กรเช่น ศูนย์บริการทางการแพทย์ หรือพื้นที่ของมหาวิทยาลัย เมื่อเปรียบเทียบกับดาต้าเซ็นเตอร์บนคลาวด์ขนาดใหญ่ หรือแบบ Co-location แล้ว ดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge จะมีขนาดค่อนข้างเล็กกว่า และมีขนาดได้ตั้งแต่แบบเล็กมากที่กินพื้นที่แค่ไม่กี่ Rack เก็บอยู่ในตู้ที่ตั้งตามหัวถนน, หรืออาจเต็มทั้งตู้ชั้น Rack เพื่อรองรับการประมวลผลข้อมูลของอาคารหนึ่ง, ไปจนถึงตู้ Rack หลายตู้ที่อยู่ในห้องดาต้าเซ็นเตอร์ของเสาสัญญาณ 5G, หรือแม้กระทั่วเป็นตู้ Rack จำนวนกว่า 40 – 50 ตู้ที่ตั้งอยู่ภายใต้สำนักงานใหญ่ของตัวเมือง

สิ่งหนึ่งที่ควรระลึกไว้สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge คือ ดาต้าเซ็นเตอร์แบบนี้ก็ยังคงมีเอกลักษณ์ของความเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ ไม่ว่าจะมีระบบการใช้พลังงาน, การทำความเย็น, การเดินสายเคเบิล, และการเชื่อมต่อต่างๆ ลักษณะเดียวกันกับดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วไป เพียงแค่มีขนาดเล็กกว่ามากเท่านั้น

ดาต้าเซ็นเตอร์ประเภทนี้ยังใช้ระบบมาตรฐานเดียวกันอย่างเช่นมาตรฐาน TIA-942-A ที่ระบุไว้ตั้งแต่ห้องทางเข้า, พื้นที่การเชื่อมต่อหลัก, พื้นที่ระบบเชื่อมต่อรอง, และพื้นที่จัดวางอุปกรณ์เชื่อมต่อ ดังนั้นดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge อาจมีการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายของผู้ให้บริการ, คอร์สวิตชิ่ง, สวิตช์ Intermediate, และเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ รวมอยู่ภายในตู้เดียวกัน และเนื่องจากการรวมทุกอย่างผสานเข้าไปอยู่ในพื้นที่ขนาดเล็กกว่าปกติ ทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge มักมีความหนาแน่นต่อตู้มากกว่า ทั้งด้านจำนวนการเชื่อมต่อและความต้องการพลังงาน

จำเป็นต้องมีการทดสอบสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์เช่นกัน

เนื่องจากดาต้าเซ็นเตอร์แบบ Edge ก็ยังเป็นดาต้าเซ็นเตอร์รูปแบบหนึ่ง หมายความว่าการทดสอบที่คุณเคยทำกับดาต้าเซ็นเตอร์ปกติก็ยังใช้ได้กับแบบ Edge เช่นกัน โดยในดาต้าเซ็นเตอร์แบบนี้ คุณสามารถพบกับการเชื่อมต่อผ่านสายไฟเบอร์แบบซิงเกิลโหมดเพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของผู้ให้บริการ, การเชื่อมต่อผ่าน MPO แบบมัลติโหมดที่เชื่อมระหว่างสวิตช์, ไปจนถึงสายเคเบิลแบบสายทองแดง หรือสาย SFP+ / SFP28 Twinax แบบ Direct Attach Cable (DAC) ที่เชื่อมต่อระหว่างเซิร์ฟเวอร์ด้วยกัน

ที่มา : https://www.facebook.com/flukenetworks/