เซิร์ฟเวอร์โดเมนเนม หรือ Domain Name Servers (DNS) นั้นเปรียบเหมือนแกนหลักของโลก World Wide Web เลยทีเดียว ด้วยการเก็บข้อมูลปริมาณมหาศาลเกี่ยวกับเว็บไซต์และโดเมนต่างๆ ทำให้อุปกรณ์ทั้งหลายอย่างแล็ปท็อป เดสก์ท็อป หรืออุปกรณ์พกพาอย่างมือถือและแท็บเล็ตสามารถเชื่อมต่อกับเว็บไซต์ที่ต้องการเยี่ยมชมได้เสมอ บางทีคุณอาเคยได้ยินคำว่า “NS” หรือเนมเซิร์ฟเวอร์ด้วย ซึ่งเวลาที่เปลี่ยนเครื่องโฮสต์ขณะที่รันหน้าเว็บอยู่นั้น NS เองก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ DNS และมีบทบาทสำคัญในการทำโฮสติ้งอย่างมาก ด้วยการจัดการคำร้องขอเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งเซิร์ฟเวอร์ที่มาจาก DNS ทำให้เราสามารถใช้ชื่อโดเมนแทนการระบุเป็นที่อยู่ไอพีตรงๆ
เราจะใช้เซิร์ฟเวอร์ DNS เมื่อไร?
เมื่อมีการเปิดเว็บบราวเซอร์แล้วพิมพ์ URL ของเว็บไซต์ ตัวแปลงที่อยู่ของ DNS (DNS Resolver) จะเริ่มสแกนเว็บเพื่อหาที่อยู่ไอพีของชื่อโดเมนที่คุณพิมพ์เข้ามา ตัวแปลงที่อยู่นี้จะคอยหาตำแหน่งที่จัดเก็บข้อมูลดังกล่าวโดยตรวจสอบจากเซิร์ฟเวอร์ DNS ณ เวลานั้นๆ
เมื่อตัวแปลงที่อยู่หาตำแหน่งของที่อยู่ไอพีดังกล่าวได้แล้ว ก็จะเปิดรับคอนเท็นต์ต่างๆ ไหลเข้ามายังผู้ใช้ที่ร้องขอ ที่จะเริ่มได้เห็นหน้าตาเว็บไซต์อย่างที่ควรจะเป็น องค์ประกอบของคอนเท็นต์นั้นอาจรวมถึงอินเทอร์เฟซใช้งานหรือ UI หลากหลายแบบ อย่างเช่นรูปภาพ หน้าตาเว็บ หรือองค์ประกอบอื่นๆ ที่มองเห็นได้
แล้วเซิร์ฟเวอร์ DNS เกิดขึ้นหรือมาจากไหน?
ปกติแล้ว ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) จะรัน DNS ของตัวเองด้วยเราเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ระหว่างอุปกรณ์และ DNS โดยคำร้องขอข้อมูลไอพีจะถูกส่งไปยังตัว DNS ของ ISP เพื่อมองหาข้อมูลเว็บไซต์ที่เก็บไว้
ที่มา : https://www.enterpriseitpro.net