สวัสดีค่ะวันนี้แอดมินได้รวบรวมคำสั่งตรวจเช็คระบบ Network พื้นฐานสำหรับมือใหม่มาให้ทดลองศึกษาและลองใช้คำสั่ง command กันดูนะคะ สำหรับมือใหม่แอดมินคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับท่านที่ต้องการตรวจเช็ค network ด้วยตนเอง หรือตรวจเช็คให้กับลูกค้าเลยค่ะ ซึ่งแอดมินได้เขียนแบบละเอียด และทำเป็นตารางสรุปเนื้อหาให้อ่านอย่างง่ายๆไว้แล้วนะคะ
1.วิธีการเปิดใช้งาน command
1) กดปุ่ม window LOGO กับปุ่มตัว R บนแป้นพิมพ์หลังจากนั้นจะขึ้นหน้าต่าง Run ให้พิมพ์คำว่า cmd
2) หลังจากนั้นท่านจะได้หน้าจอดังภาพ หากได้หน้าจอแบบนี้แล้วท่านก็จะสามารดทดลองใช้คำสั่ง command ต่างๆในการตรวจสอบ network พื้นฐานได้เลยค่ะ
2. คำสั่ง ping คืออะไร?
คำสั่ง ping เป็นคำสั่งทดสอบสถานะการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายปลายทางที่ต้องการ ผลการ ping จะส่งกลับมาในลักษณะของข้อความ 4 บรรทัด
รูปแบบของคำสั่ง
ping < IP Address > ทดสอบโดยใช้หมายเลข IP เครื่องที่ต้องการ
ping < website > ทดสอบการเชื่อมต่อเว็บไซต์ภายนอก
ping < website > -t ทดสอบการเชื่อมต่อเว็บไซต์ภายนอกแบบต่อเนื่อง
ผลลัพธ์ที่ได้จากคำสั่ง ping
1. เมื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า “Reply From” หมายความว่า สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องปลายทางสำเร็จ
2. เมื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า “Request timed out” หมายความว่า ไม่สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องปลายทางได้ ปัญหาอาจเกิดจากฝั่งปลายทาง หรือ ทางฝั่งของเจ้าของเครื่อง
3. ความหมายของข้อความที่ต่อจาก Reply Form IP Address
3.1 byte > ขนาดของ packet ข้อมูลที่ส่ง
3.2 time > เวลาที่ใช้ในการส่งและตอบกลับจาก server ปลายทาง
3.3 TTL > เวลาที่ใช้ในการตอบกลับ
4. Ping statistics เป็นจำนวนคำร้องที่ส่งไปยัง server
4.1 Packet > จำนวน packet ที่ส่งไปยังปลายทาง
4.2 Received > จำนวน packet ที่ server ได้รับ
4.3 Lost > จำนวน packet ที่ server ไม่ได้รับ
5. Approximate round trip times in milli-seconds คือระยะเวลาที่ใช้ในการส่งคำขอและติดตามกลับ หน่วยเป็นมิลลิวินาที หมายเหตุ ค่า Min กับ Max ไม่ควรห่างกันมาก หากต่างกันมากหมายความว่าไม่เสถียร
5.1 Minimum > เวลาที่ใช้น้อยที่สุด
5.2 Maximum > เวลาที่ใช้มากที่สุด
5.3 Average > เวลาเฉลี่ย
คำสั่ง ping อื่น หรือ ping command syntax
สามารถใช้คำสั่ง ping /? เพื่อดูคำสั่งอื่นของคำสั่งนี้
สามารถใช้คำสั่ง ping /all เพื่อแสดงรายละเอียดทั้งหมด
สามารถใช้คำสั่ง ping /release เพื่อยกเลิกหมายเลข IP ปัจจุบัน
สามารถใช้คำสั่ง ping /renew เพื่อขอหมายเลข IP ใหม่ ในกรณีที่ Network มีปัญหา อาจลองตรวจสอบได้โดยการใช้คำสั่งนี้ ซึ่งหากคำสั่งนี้ทำงานได้สำเร็จ อาจเกิดปัญหาที่ software
คีย์ลัดในการ ping
ตารางคำสั่งคีย์ลัดในการ ping
คำสั่ง | ความหมาย |
Ctrl + C | ใช้หยุดทดสอบการ ping |
Ctrl + Break | ในบางระบบสามารถใช้หยุดทดสอบการ ping ได้ |
Ctrl + Pause / Break | บนบางคีย์บอร์ดสามารถใช้หยุดทดสอบการ ping ได้ |
Ctrl + Z | ในหน้าต่าง Command บางรุ่น สามารถใช้หยุดทดสอบการ ping ได้ |
Ctrl + Shift + Esc | ในบางระบบ สามารถใช้กดเปิด Task Manager เพื่อปิด Command ได้ |
Alt + Space , c | จะใช้เปิดหน้าเมนูหลัก และตามด้วย c เพื่อทำการปิดหน้าต่าง |
ตารางคำสั่ง ping command syntax
คำสั่ง | ความหมาย |
-t | ping ไปยังปลายทางจนกว่าจะหยุดโดยกด Ctrl + C หากต้องการดูสถิติให้กด Ctrl + Pause / Break |
-a | แสดงชื่อของ server ปลายทาง |
-n | ระบุจำนวนคำขอของ ping ที่เราต้องการ รูปแบบคำสั่ง ping -n เว้นวรรค < จำนวนคำขอที่ต้องการ > < IP Address > |
-l | ระบุขนาดคำขอ buffer ที่ต้องการสร้าง |
-f | ใช้การตั้งค่าเครื่องหมาย packet ไม่ให้หั่นข้อมูล (ใช้ได้กับ IPv4 เท่านั้น) |
-i | กำหนดค่า TTL ping โดยมีค่าตั้งแต่ 1 – 255 |
-r | ใช้บันทึกเส้นทางและนับจำนวนครั้งในการกระโดด (Hops) จนกว่าจะถึงปลายทาง (ค่าสูงสุดของการนับคือ 9 ใช้ได้กับ IPv4 เท่านั้น) |
-s | นับเวลาในการกระโดด (Hops) แต่ละครั้ง ค่าสูงสุดของการนับคือ 4 |
-j | ping เพื่อตรวจสอบปลายทาง โดย IP หรือ Domain ต้นทางที่ต้องการ (ใช้ได้กับ IPv4 เท่านั้น) |
-k | ping เพื่อตรวจสอบปลายทางแบบละเอียด โดย IP หรือ Domain ต้นทางที่ต้องการ (ใช้ได้กับ IPv4 เท่านั้น) |
-w | กำหนดเวลาการตอบกลับ มีหน่วยเป็น มิลลิวินาที รูปแบบคำสั่ง ping -w < ตามด้วยเวลา > |
-R | ติดตามเส้นทางการตอบกลับ (ใช้ได้กับ IPv6 เท่านั้น) |
-S | ใช้ระบุที่อยู่ของต้นทาง |
-c | การกำหนดเส้นทางตัวระบุช่องว่าง |
-p | สามารถช่วยให้ ping ไปยัง server จำลองได้ |
-4 | ให้ใช้เฉพาะ IPv4 เท่านั้น |
-6 | ให้ใช้เฉพาะ IPv6 เท่านั้น |
3) คำสั่งพื้นฐาน tracert
ตรวจสอบการเดินทางจากคอมพิวเตอร์ไปยังปลายทาง มีลักษณะคล้าย ping แต่แตกต่างกันตรงที่ ผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นเส้นทางที่ใช้ผ่านที่ใด หรืออุปกรณ์ใดบ้างจนกว่าจะถึงปลายทาง สามารถทดสอบว่าเกิดความขัดข้องที่จุดใด ทำให้ตรวจสอบและแก้ไขอย่างถูกต้องที่สุด
1. กรณีผลลัพธ์แสดง * แสดงว่าเส้นนั้นขาดหรือขัดข้อง
2. เมื่อเสร็จสิ้นจะขึ้นคำว่า trace complete
รูปแบบของคำสั่ง tracert
tracert <website>
tracert <IP Address>
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง tracert google.com
คำสั่ง tracert ใช้โปรโตคอล ICMP ซึ่งทำงานอยู่ใน Layer 3 ของ OSI model (Open Systems Interconnection model) อีกทั้งยังใช้ประโยชน์จากค่า TTL (Time To Live) เป็นหนึ่งใน IP packet ที่เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ packet ในเครือไม่มีวันหมดอายุ
การทำงาน TTL เกิดขึ้นเมื่อ IP packet ส่งผ่านไปยัง Router ใด ๆ เพื่อไปยังปลายทาง Router นั้น ๆ จะลดค่า TTL ของ packet ลง 1 เมื่อค่า TTL ลดลงเหลือ 0 Router ดังกล่าวจะ drop packet ทิ้งและส่งข้อมูลประเภท “time exceeded” คืน tracert ด้วยวิธีการนี้จึงทำให้ไม่มี packet ตกค้างในระบบ network
ดังนั้นโปรแกรม tracert จึงสามารถแสดงรายละเอียดเป็น IP หรือ ชื่อของ router (ในลักษณะ domain เช่น g1-1-router1.etda.or.th) และแสดงระยะเวลา round trip time ได้แต่ tracert เป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับ hacker เพื่อใช้ตรวจสอบเครือข่ายของเป้าหมายว่ามีโครงสร้างแบบใด จึงมีการทำเซ็ท firewall ให้ปฏิเสธการรับข้อมูลที่ระบุว่ามาจากคำสั่ง tracert
ตารางคำสั่ง tracert command syntax
คำสั่ง | ความหมาย |
-d | บังคับไม่แสดงชื่อ Host |
-h | จำนวนการโดดสูงสุด |
-j | กำหนดเส้นทางที่สูญเสีย |
-w | กำหนดเวลาในตอบกลับเป็น msec (มิลลิวินาที) |
4) คำสั่งพื้นฐาน ipconfig
เป็นคำสั่งใช้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับ Network ภายในเครื่อง IP Address, Mac Address, Subnet Mask, Default Gateway
IPv4 Address : เป็น Address ที่มีการร้องขอเข้าไปบ่อยมากที่สุดเพื่อใช้ในการสร้างเครือข่าย
– หาก IP Address ขึ้นต้นด้วย 192 แสดงว่าเครือข่ายได้มีการตรวจพบและเชื่อมต่อไม่มีปัญหา
– หาก IP Address เริ่มต้นด้วย 169 แสดงว่าไม่มีการตรวจพบเครือข่าย
– หาก IP Address เป็น 0.0.0.0 หมายถึงไม่มีการตรวจพบ Network adapter เลย
Subnet Mask : โดยปกติจะแสดงเป็น 255.255.255.000 (หรือมีความแตกต่างในบางอย่าง)
Default Gateway : ปกติจะแสดงส่วนที่ต่างออกไปของรายการ IP Address ซึ่งจะได้รับโดยอัตโนมัติผ่านเราท์เตอร์(โหมด DHCP)
รูปแบบคำสั่ง
ipconfig <คำสั่งอื่น ๆ>
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง ipconfig
ตารางคำสั่ง ipconfig
คำสั่ง | ความหมาย |
/? | แสดงคำสั่งทั้งหมดของคำสั่งนี้ |
/all | แสดงรายละเอียดทั้งหมด |
/release | ยกเลิกหมายเลข IP Address ปัจจุบัน |
/renew | ขอหมายเลข IP Address ใหม่ ในกรณีที่ Network อาจมีปัญหา |
/flushdns | ขจัด DNS Resolver ออกจาก cache |
/registerdns | ร้องขอ DNS name ใหม่ |
/displaydns | แสดงค่ารายละเอียดใน cache |
/showclassid | แสดง class ID ทั้งหมดที่ DHCP ให้กับการ์ดแลน |
/setclassid | แก้ไข DHCP Class id |
5) คำสั่งพื้นฐาน nbtstat
เป็นคำสั่งตรวจสอบชื่อ NetBIOS
รูปแบบคำสั่ง
nbtstat <syntax>
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง nbtstat -c
ตารางคำสั่ง nbtstat command syntax
คำสั่ง | ความหมาย |
-R | เป็นการโหลดไฟล์ |
-n | ตรวจสอบชื่อที่ติดต่อ |
-s | ตรวจสอบการติดต่อ |
-r | ตรวจสอบชื่อที่แก้ และสถิติที่ติดต่อ |
-c | ตรวจสอบรายชื่อใน cache |
6) คำสั่งพื้นฐาน nslookup
เป็นการตรวจสอบ Domain Name System ของเครื่องคอมพิวเตอร์ หมายเลข IP Address เป็นของ Website ใด หรือ ตรวจสอบว่า Website นี้หมายเลข IP Address อะไร
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง nslookup
เมื่อใช้คำสั่งแล้วไม่ใส่ parameter จะแสดง DNS ที่เราใช้งานอยู่ และมีเครื่องหมาย “ > ” สามารถใช้คำสั่งหา IP Address ของเว็บไซต์ หรือ หาชื่อเว็บไซต์จาก IP Address ได้
ตารางคำสั่ง nslookup
คำสั่ง | ความหมาย |
nslookup | แสดง DNS ที่ใช้งานอยู่ |
nslookup <website> | ตรวจสอบหมายเลข IP Address เป็นของ Website ใด |
nslookup <IP Address> | ตรวจสอบว่า Website นี้หมายเลข IP Address อะไร |
7) คำสั่งพื้นฐาน telnet
เป็นคำสั่งที่ใช้ตรวจสอบบริการ
รูปแบบคำสั่ง
telnet <ตำแหน่ง Host><Port>
8) คำสั่งพื้นฐาน route
เป็นคำสั่งที่ใช้ดู หรือกำหนดค่า Routing Table ในการหาเส้นทางการติดต่อ
Routing Table เป็นส่วนที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเครือข่ายปลายทาง ซึ่งข้อมูลที่บรรจุเป็นส่วนที่ใช้ในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายนั้น
รูปแบบคำสั่ง
route <syntax>
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง route print
ตารางคำสั่ง route
คำสั่ง | ความหมาย |
แสดงข้อมูลในตาราง Routing | |
add <IP Address> <subnet mask> | เพิ่มเส้นทางข้อมูล |
delete <IP Address> | ลบเส้นทางข้อมูล |
change | เปลี่ยนเส้นทางข้อมูล |
เรียบเรียงโดย : วรางคณา ส่องแสง